?เคยสงสัยกันไหมว่าทำไม “Google map” รู้ได้ไงว่า ตรงไหนรถติดหรือไม่ติด??❓
⭕วันนี้ทีมงานวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ Rcimมาเฉลยข้อข้องใจนี้แล้วครับ⭕
?ปัญหาการจราจรของเมืองไทยเป็นอะไรที่น่าปวดหัวมาก และมันคงจะดีมาก ถ้าหากเราสามารถรู้ได้ว่าตรงไหนรถติด ตรงไหนถนนโล่ง?
และตัวช่วยได้ดีที่สุดคือ Google Map นั้นเอง แต่ทำไมมันถึงรู้ล่ะ ใครเป็นส่งข้อมูลหรือ??? วันนี้เรามาหาคำตอบกันครับ
⭕1. Google รับข้อมูลจากผู้ใช้ Smartphone ที่เปิดใช้งานผ่านแอพ Google map หรือ GPS อยู่ที่อยู่บนมือถือนั้นหละครับ และต้องเปิดโหมดแชร์ Location Service ด้วยนะ เมื่อเราอยู่บนตำแหน่งที่อยู่บนถนน ตัวเครื่องก็จะส่งข้อมูลไปยัง Google โดยข้อมูลสมาร์ทโฟนที่เราใช้อยู่นี้ จะส่งข้อมูลแบบไม่ระบุตัวตน (anonymous data) กลับไปบอกทาง Google ว่าเรากำลังเคลื่อนที่ที่ความเร็วเท่าใด แล้วนำไปเปรียบเทียบกับโทรศัพท์เครื่องอื่นๆ ที่อยู่บนถนนเดียวกับเราและรอบๆเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง โดยระบบหลังบ้านของแอพ จะประมวลข้อมูลเหล่านี้จนเห็นภาพรวมของการจราจรทั้งหมด แล้วจึงส่งข้อมูลกลับมาให้เราได้ใช้งานกันต่อไป
~เส้น Traffic ขึ้นมาแบบ Real time อยู่ 4 สี
สีเขียว – ถนนโล่ง ขับสบาย รถไม่ติด
สีส้ม – รถค่อนข้างหนาแน่น แต่ยังเคลื่อนตัวได้เรื่อยๆ
สีแดง – การจราจรหนาแน่น รถเริ่มติด
สีแดงเลือดหมู – นิ่งสนิท ติดสุดๆ
~สิ่งที่น่าสนใจคือ
ข้อมูลที่ส่งไปประมวลผลมีขนาดไม่กี่ไบท์ ทำให้ไม่เปลื้องดาต้ามากนัก
ข้อมูลที่ระบบได้รับไปจากเรา ทาง Google ไม่ได้ดึงข้อมูลส่วนตัว แต่จะเป็นการแชร์ในส่วนของตำแหน่ง Location
เพื่อให้ข้อมูลแม่นยำมากขึ้น และเป็นแบบ Real time และด้วย ณ ปัจจุบัน คนใช้ Smart phone เยอะขึ้นจะทำให้ความแม่นยำ
ของ Google map ดีขึ้น ครอบคลุมเส้นทางเยอะขึ้นเรื่อยๆ
⭕2.ข้อมูลจากผู้ใช้ WAZE
WAZE แอปพลิเคชันแผนที่นำทางรูปแบบเรียลไทม์โดยใช้ข้อมูล crowdsource ในการวิเคราะห์การจราจร ให้ผู้ขับขี่พาหนะสามารถเข้าถึงข้อมูลการจราจรแบบทันต่อเหตุการณ์ เพื่อช่วยค้นหาเส้นทางที่คล่องตัวที่สุดในการเดินทางในเมือง และได้ถูกทาง Google ซื้อไปแล้วเรียบร้อย
หลังจากที่ Google เข้าซื้อแอพนี้ ก็มีการรวมเอาข้อมูลจากผู้ใช้ใน Waze มาแสดงขึ้นบน Google Maps ด้วย ทำให้ผู้ใช้ทั้งสองแอพสามารถรู้ถึงเส้นทางที่กำลังจะขับไปว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้างได้ทันที
และอีกตัวช่วยนึง ที่เพิ่มความแม่นยำให้กับถนนในเมือง การหาตำแหน่งด้วยวิธี Observed Time Difference Of Arrival (OTDOA) โดยผ่านระบบผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ โดยคำนวนจากมือถือ ที่จับสัญญาณกับเสาของโทรศัพท์แต่ละต้น เพื่อคำนวนหาตำแห่งของโทรศัพท์นั้นเอง ซึ่งจะทราบถึงการเคลื่อนที่ ความเร็ว ทิศทาง เป็นต้น
ด้วยการรวมการใช้งานจาก Location Service จากผู้ใช้งานในจุดนั้น ๆ นำมาคำนวนความหนาแน่นบนเส้นทางการจราจรในเส้นทางต่างๆ ค่อนข้างที่จะแม่นยำ ได้วิเคราะห์จากตำแหน่งจากผู้ที่อยู่ในจุดนั้นจริงๆ
จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นก็เป็นคำตอบที่หลายคนสงสัยว่า Google map ทำงานอย่างไร รู้การจราจร แบบ Real-time ได้ไง
และนี้ก็เป็นสาระดีๆที่ทางเราเอามาฝากกันครับ
ที่มา: fossBytes, Cisscenter, Droidsans
0 Comments